วันพฤหัสบดีที่ 18 ธันวาคม พ.ศ. 2557

ประโยชน์ของน้ำพริกเพื่อสุขภาพ

ประโยชน์ของน้ำพริกเพื่อสุขภาพ

คุณสมบัติทางยาของน้ำพริก ได้ถูกประกาศโดยกระทรวงสาธารณะสุข และมุ่งส่งเสริมให้แพร่หลายมากขึ้นสำหรับผู้บริโภค
นอกจากจะเป็นอาหารที่มีคุณค่าแล้ว ยังช่วยประหยัดค่ารักษาสุขภาพของคนไทย ปีนึงไม่ต่ำกว่าพันล้านบาท
จากข้อมูลที่ได้ ในแต่ละปี จะต้องเสียค่าใช้จ่ายในการดูแลรักษาโรคมะเร็ง โรคหัวใจ และโรคเบาหวาน ประมาณ 5,400 ล้านบาท ซึ่งเกิดจากการรับประทานอาหารที่ไม่มีประโยชน์ต่อสุขภาพ รวมถึงการอดอาหาร ซึ่งจากการศึกษาขององค์การอนามัยโลก พบว่า 60 เปอร์เซ็นต์ของโรคมะเร็งมีสาเหตุเกี่ยวข้องกับการอดอาหาร
"จากการสำรวจพบว่า คนส่วนใหญ่บริโภคอาหารน้อยกว่าที่ร่างกายต้องการ คือ ผักและผลไม้ 400 กรัมต่อวัน คิดเป็นร้อยละ 80 ในผู้ชาย และร้อยละ 76 ในผู้หญิง" กล่าวโดยหน่วยงานกระทรวงสาธารณะสุข
การอดอาหาร เป็นปัจจัยสำคัญที่ทำให้เกิดโรคเรื้อรัง กระทรวงสาธารณะสุขจึงได้ตัดสินใจในการสนับสนุนน้ำพริกแทนการอดอาหาร เนื่องจากในน้ำพริก 1 ถ้วยมีส่วนผสมของสมุนไพรกว่า 100 ชนิด
"น้ำพริก มีส่วนผสมของสมุนไพรที่เป็นประโยชน์ต่อสุขภาพ โดยมีส่วนประกอบทั่วไป คือ พริก กระเทียม หอมแดง กุ้ง น้ำปลา และปลาร้า"
"น้ำพริก สามารถเพิ่มการสร้างเซลล์กำจัดเชื้อโรคได้อย่างเป็นธรรมชาติ ส่งเสริมระบบการไหลเวียนโลหิต และระบบการหายใจให้ดีขึ้น ซึ่งช่วยลดปัจจัยเสี่ยงในการเกิดโรคมะเร็ง โรคหัวใจ และโรคเบาหวาน"
น้ำพริกมีส่วนประกอบของ antioxidants และ anti-ageing ซึ่งสามารถลดการเิกิดโรคมะเร็ง โรคหัวใจ ได้ร้อยละ 20 และโรคลม โรคทางสมอง ได้ร้อยละ 26 ถึง 42
นอกจากนี้ น้ำพริกยังสนับสนุนให้คนทั่วไปนิยมทานมากกว่าผัก
"ด้วยรสชาติที่เผ็ดร้อน เราไม่สามารถที่จะทานน้ำพริกโดยไม่ทานผักและข้าวไปด้วยได้" ทางการแพทย์ยืนยันแล้วว่า เส้นใยผักช่วยในระบบการย่อยอาหาร
"น้ำพริกมีรสชาติที่อร่อย หากใช้ส่วนประกอบที่มีคุณภาพ และผักที่สะอาด น้ำพริกบางประเภทใช้พริกต่างชนิดกัน เพื่อรสชาติที่ดีสำหรับน้ำพริกประเภทนั้น ๆ"
ประเทศไทยเคยมีน้ำพริกมากกว่า 500 ประเภท แต่ปัจจุบันเหลืออยู่ 200 ประเภทเท่านั้น ในแต่ละท้องถิ่นจะมีส่วนประกอบของน้ำพริก วิธีการทำ และวิธีการกิน ที่แตกต่างกันไป
ในภาคเหนือ มักจะใช้ถั่วเน่าเป็นส่วนประกอบในการทำน้ำพริก ที่ถือเป็นหัวใจสำคัญ ในขณะที่ ปลาร้า มักนิยมในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ และปลาบูด นิยมใช้กันในภาคใต้
อย่างไรก็ตาม อาจมีสารเคมีหรือเชื้อโรคจากการเน่าเสียในน้ำพริกบางแห่งที่น่าเป็นห่วง ความหลากหลายของผักน้อยลงในช่วงปีที่ผ่านมา
จากการสำรวจเมื่อไม่นานมานี้ พบว่า การเน่าเสียในผักและผลไม้ได้ลดลง จากร้อยละ 7.47 เหลือร้อยละ 3.92 ในช่วงปี 2546 และปี 2549 แต่ยังคงพบแบคทีเรียจากกลุ่มตัวอย่างน้ำพริก
ยังพบอีกว่าร้อยละ 98 ของคนทั่วไป นิยมรับประทานน้ำพริกเป็นอาหารจานหลัก ในขณะที่ ร้อยละ 64 นิยมรับประทานน้ำพริกเป็นประจำทุกวัน
น้ำพริกที่เป็นที่นิยมที่สุด ได้แก่ น้ำพริกกะปิ น้ำพริกปลาทู น้ำพริกปลาร้า และน้ำพริกหนุ่ม
"ทางที่ดีที่สุดคือ ทำกินเอง เพราะเราสามารถเลือกส่วนประกอบที่มีคุณภาพ และผักที่ชอบได้ หรือเลือกรับประทานผักตามฤดูกาล หรือผักท้องถิ่น ซึ่งช่วยลดโอกาสในการเน่าเสียและเกิดเชื้อโรคได้"
"โดยการรับประทานอาหารสุขภาพอย่างน้ำพริก เป็นการช่วยสนับสนุนการปลูกพืชปราศจากสารเคมี และช่วยปรับปรุงสิ่งแวดล้อมและระบบนิเวศของชนบทให้ดีขึ้น"
"หากปลูกผัก ก็เป็นอีกหนทางที่จะช่วยบรรเทาภาวะโลกร้อนอีกทางหนึ่งด้วย น้ำพริกถือเป็นหนึ่งในเศรษฐกิจพอเพียง เราหวังว่าจะมีผู้คนหันมาสนใจรับประทานพื้นบ้านกันมากขึ้น"
"ในการที่จะเปลี่ยนความเข้าใจของผู้คนนั้น ไม่ง่ายเลย ต้องทำไปด้วยความระมัดระวัง"
มันอาจจะไม่ประสบผลสำเร็จ หากไม่มีการสนับสนุนการทำอาหารเองที่บ้าน และการพยายามไม่กินอาหารที่ไม่เกิดประโยชน์

ความเป็นมา น้ำพริก

ความเป็นมา น้ำพริก

น้ำพริก มีมาตั้งแต่สมัยกรุงศรีอยุธยา โดยคำว่า "น้ำพริก" มีความหมายมาจากการปรุงด้วยการนำสมุนไพร พริก กระเทียม หัวหอม เครื่องเทศกลิ่นแรง มาโขก บด รวมกัน เพื่อใช้สำหรับจิ้ม โดยมี ดอกแค มะเขือยาว แตงกวา ถั่วฝักยาว มะเขือม่วง ถั่วพู สัตว์น้ำต่าง ๆ เช่น ปลา กุ้ง
คนในสมัยก่อนนิยมรับประทานสัตว์น้ำมากกว่าสัตว์บก จึงอาจคิดค้นน้ำพริกขึ้นเพื่อเพิ่มรสชาติ และดับกลิ่นคาวต่าง ๆ น้ำพริกถูกใช้เป็นส่วนประกอบของอาหารต่าง ๆ หรือใช้ในการรับประทานเป็นกับข้าวก็ได้ และยังได้รับความนิยมมาตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบัน
สำหรับน้ำพริกแบบทีใช้เป็นเครื่องปรุงส่วนผสมนั้น เกิดขึ้นเพราะอาหารไทยจำพวกแกง จำเป็นที่จะต้องมีส่วนประกอบ หรือกรรมวิธีการทำที่ค่อนข้างซับซ้อน ผู้ปรุงจึงคิดทำน้ำพริกขึ้นเพื่อรวบรวมส่วนผสมต่าง ๆ นั้นเข้าด้วยกัน เป็นการลดขั้นตอนการปรุงลง และยังสามารถทำเก็บไว้ได้ในจำนวนมาก
ในปัจจุบันได้มีการนำน้ำพริกชนิดต่าง ๆ มาดัดแปลงเป็นอาหารหลากหลายประเภท รวมถึงนำมาผัดกับข้าว เช่น ข้าวผัดน้ำพริกนรก ข้าวผัดน้ำพริกปลาทู เป็นต้น

ประเภทของน้ำพริก

ประเภทของน้ำพริก

น้ำพริก มีมากมายหลายประเภท ซึ่งแตกต่างกันไปตามวิธีการทำ และเครื่องปรุงที่ต่างกันของแต่ละท้องถิ่น แต่มีความคล้ายคลึงกัน
สามารถแบ่งน้ำพริกได้หลายประเภท ได้แก่
1. น้ำพริกเผา10. น้ำพริกปูเค็ม
2. น้ำพริกกะปิ11. น้ำพริกปลาทู
3. น้ำพริกกุ้งสด12. น้ำพริกตาแดง
4. น้ำพริกขี้กา13. น้ำพริกกลางดง
5. น้ำพริกแมงดา14. น้ำพริกอ่อง
6. น้ำพริกไข่เค็ม15. น้ำพริกสวรรค์
7. น้ำพริกกุ้งเสียบ16. น้ำพริกหมูหยอง
8. น้ำพริกปลาย่าง17. น้ำพริกปลาร้า
9. น้ำพริกหนุ่ม18. น้ำพริกปักษ์ใต้

น้ำพริกคือ?

น้ำพริก

น้ำพริก เป็นอาหารที่นิยมมากของคนไ่ทย รับประทานโดยใ้ช้การจิ้ม ปรุงโดยนำส่วนผสมมาจากหลายอย่าง เช่น น้ำพริก หัวหอม กระเทียม เครื่องเทศ สมุนไพร โขกให้เข้ากัน สามารถรับประทานร่วมกับผัก เช่น มะเขือยาว ถั่วฝักยาว แตงกวา ดอกแค
น้ำพริกนั้น มีทั้งที่ทำจากพริกแห้งและพริกสด โดยนำมาผสมรวมกับผักและสมุนไพร รวมทั้งเนื้อสัตว์
หากจะแ่บ่งน้ำพริกตามวิธีการรับประทาน สามารถแบ่งได้ 2 ประเภท คือ ประเภทที่เป็นเครื่องจิ้มรับประทานได้ทันที และประเภทที่ใช้เป็นส่วนประกอบหรือเครื่องปรุงสำหรับปรุงอาหารต่าง ๆ
น้ำพริก มีมากมายหลายชนิด ตามแต่ผู้ปรุงจะคิดค้น ขึ้นอยู่กับความนิยม และวัตถุดิบที่หาได้ในแต่ละท้องที่ ตัวน้ำพริกเองนั้น ไม่สามารถแบ่่งแยกออกเป็นประเภทที่ชัดเจนได้ เนื่องจากน้ำพริกของแต่ละภาคมีวิธีการทำ การปรุง เครื่องปรุงส่วนผสมต่าง ๆ ที่คล้ายคลึงกัน ต่างกันเพียงวัตถุดิบในแต่ละท้องถิ่น

สมาชิก

สมาชิกกลุ่ม"น้ำพริกกะปิ"
1.ปรมัตถ์ กองแก้ว เลขที่ 3

2.นิติศาสตร์ นาจำปา เลขที่ 4


3.เทพทัต สมัคธัญญกิจ เลขที่ 7

4.ฐาปนรักษ์ นิลเพชร เลขที่ 13


5.ชนินทร์ อะโน เลขที่ 19


6.สรรพสิริ น้อยรุ่ง เลขที่ 29


7.ธนาพงษ์ วาสนาสันติ เลขที่ 31


8.นิธิรุจน์ เอื่อมวรกิตติ เลขที่ 35


9.พงศ์ภรณ์ เหล็ฏดำ เลขที่ 40